Facebook
Twitter

เล่าเรื่องโรคหัวใจ และสัญญาณเตือนโรคหัวใจ

ปัจจุบันการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ล้วนอยู่กับความเร่งรีบในการดำเนินกิจวัตรประจำวันจนบางครั้งก็ลืมที่จะหันมาดูแลหรือใส่ใจตัวเอง จนล้มป่วยถึงได้มีเวลาหันกลับมาดูแลและใส่ใจตัวเอง แต่พอหายก็กลับไปใช้ชีวิตแบบเดิม พอถึงเวลาที่ต้องตรวจสุขภาพประจำปีก็มักจะเจอกับหลากหลายโรคที่ล้วนแต่ไม่มีใครอยากเจอและอยากเป็นทั้งสิ้น และแน่นอนว่าหนึ่งในโรคยอดฮิตที่พบได้บ่อยคือโรคหัวใจ ดังนั้นบทความต่อไปนี้จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโรคหัวใจ ที่จะบอกถึงที่มาของโรค ปัจจัยเสี่ยง อาการ การรักษา ยาที่ใช้รักษา และวิธีดูแลตัวเองเมื่อเกิดโรคนี้

โรคหัวใจคือโรคต่างๆที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ ซึ่งอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น มักจะเกิดขึ้นกับส่วนต่างๆของหัวใจ ซึ่งโรคหัวใจยังสามารถแบ่งตามอาการและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นหรือวิธีการใช้ชีวิตได้อีกหลายประเภท อาทิเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจโต โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคหัวใจขาดเลือด ฯลฯ อีกทั้งโรคหัวใจยังสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ดังนั้นอาการหรือประเภทของโรคที่เกิดขึ้นก็จะแตกต่างออกไปตามช่วงวัย ซึ่งเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่ากำลังเป็นโรคนี้อยู่หรือเปล่าถ้าหากไม่ทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ส่วนในเด็กมักจะเป็นตั้งแต่กำเนิดหรือหลังคลอด

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคหัวใจ      
- พักผ่อนน้อย               - ไม่ค่อยออกกำลังกาย       - ทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ หรือทานไม่ครบ 5 หมู่       - มีความดันโลหิตสูง      
- มีไขมันในเส้นเลือด      - สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ       - ภาวะโรคอ้วนหรือน้ำหนักตัวผิดปกติ       - ภาวะความเครียด
- สตรีที่ทานยาคุม          - สตรีที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน       - ทานอาหารรสจัด       - ภาวะหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด หรือหลังคลอด
ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้เราสามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้เพียงแค่มั่นดูแลและรักษาสุขภาพตัวเองให้ไม่มีความเครียดและอาการที่อาจก่อให้เกิดโรคหัวใจขึ้นได้


สัญญาณเตือนโรคหัวใจ

       โดยปกติแล้วโรคหัวใจมักจะไม่ค่อยมีอาการที่แสดงออกมาชัดเจนเท่าไหร่นัก แต่ก็ยังคงมีอาการบางอย่างที่ส่งสัญญาณบอกว่ามีสิทธิ์เป็นโรคหัวใจอยู่ดังต่อไปนี้
เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกาย เดินขึ้นบันใดหลายชั้น เดินเร็ว หรือทำงานที่ต้องใช้แรงเยอะ
- หายใจเข้าลำบาก เป็นในเวลาที่ออกกำลังกาย ใช้แรงมาก ซึ่งอาจเป็นได้ตลอดเวลาหรือเป็นเฉพาะในเวลากลางคืน
- เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกข้างซ้ายหรือทั้งสองข้าง เพราะจะทำให้รู้สึกเหนื่อย อึดอัดตรงหน้าอกหรือหายใจไม่ออกจนไม่สามารถนอนราบได้ปกติแบบคนทั่วไป
- ใจสั่น หน้ามืดได้ง่าย และบางครั้งก็เป็นโดยไม่ทราบสาเหตุ
- เหงื่ออออกง่าย หัวใจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ จนอาจถึงขั้นภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
- แขนขา มือและเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ เล็บและริมฝีปากมีสีเขียว ม่วงหรือดำคล้ำ
-  และในบางรายมีอาการของกระดูกสันหลังคดงอจนผิดรูปร่วมด้วยเนื่องจากการทำงานที่ผิดปกติของเซลล์ผนังเยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งกระดูกที่คดอาจไปเบียดกับปอดจนทำให้การหายใจนั้นเหนื่อยหอบได้ง่าย

การป้องกันการเกิดโรคหัวใจ

       การป้องกันอาจป้องกันได้ยากแต่เราสามารถที่จะป้องกันได้ ซึ่งการป้องกันโรคหัวใจส่วนใหญ่จะเป็นการทำกิจวัตรประจำวันของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการทานอาหารที่มีประโยชน์ครบห้าหมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงสภาวะที่ก่อให้เกิดความเครียด และยังมีการป้องกันด้วยวิธีอื่นๆดังต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกฮอล์  
- ควบคุมความดันโลหิตไม่ให้สูงเกินมาตรฐาน
- ควบคุมคอเลสเตอรอล และเบาหวาน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีเกลือ ไขมันอิ่มตัวต่ำ ร่วมไปถึงอาหารรสจดและควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดมาตรฐาน
- หลีกเลี่ยงหรือลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อการลดการทำงานของหัวใจไม่ให้ทำงานหนัก

ปรึกษานักวางแผนการเงิน

ติดต่อ: คุณนลินี อุดมสมบัติมีชัย
เบอร์โทรศัพท์: 0982329824
ไลน์ไอดี: nalinew
E Mail: [email protected]
Copyright © 2020 executivegroup.online