อยาก #พร้อมทุกเกมพลิก อัปเกรดประกันสุขภาพที่มีได้ยังไงบ้าง

Key takeaways:

  1. ทำประกันสุขภาพให้คุ้มค่า ต้องถือกรมธรรม์ประกันสุขภาพเล่มนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ยิ่งทำประกันเมื่ออายุน้อยๆ ความเสี่ยงโรคก็น้อย ประกันสุขภาพเล่มแรก จึงไม่ควรปล่อยให้ขาดอายุ
  2. การเปลี่ยนแผนหรืออัปเกรดแผนเพื่อรับความคุ้มครองที่สูงขึ้น อาจต้องตอบคำถามสุขภาพและตรวจสุขภาพใหม่ ดังนั้น สิ่งที่ควรคำนึงหลักๆ คือ สุขภาพของตัวเองเป็นอย่างไร หากสุขภาพดี ก็มีโอกาสปรับความคุ้มครองสุขภาพเพิ่มขึ้น แต่หากมีปัญหาสุขภาพ ก็ต้องยอมรับว่ามีโอกาสจะถูกยกเว้นโรคก่อนทำประกันเพิ่มขึ้น
  3. ไม่แนะนำให้ยกเลิกกรมธรรม์ฉบับเดิมเพื่อมาซื้อกรมธรรม์ฉบับใหม่ เพราะการนับระยะเวลาที่ไม่คุ้มครองต้องเริ่มต้นนับใหม่ อีกทั้งอาจต้องชำระเบี้ยประกันภัยที่สูงขึ้นเนื่องจากอายุเพิ่มขึ้น และอาจจะต้องชำระเบี้ยประกันภัยเพิ่มพิเศษอันเนื่องจากสุขภาพ รวมถึงมีโอกาสที่จะถูกยกเว้นความคุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนการทำกรมธรรม์ฉบับใหม่ หรือถูกปฏิเสธไม่รับประกันภัย


โรคร้ายมันแรงขึ้นทุกวันประกันสุขภาพเล่มเดิมที่มีอยู่อาจคุ้มครองไม่เพียงพอ อยากได้ประกันสุขภาพที่คุ้มครองครอบคลุมกว่าเดิมต้องทำยังไงให้คุ้มครองครบ และคุ้มที่สุดจากเงื่อนไขที่ดี 


ซื้อประกันสุขภาพให้คุ้ม

หลักการของการซื้อประกันสุขภาพให้คุ้มค่า คือ การถือกรมธรรม์ประกันสุขภาพเล่มนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ยิ่งทำประกันเมื่ออายุน้อยๆ ความเสี่ยงโรคก็น้อย ประกันสุขภาพเล่มแรกจึง ไม่ควรปล่อยให้ขาดอายุ

และไม่ว่าจะกำลังตัดสินใจซื้อประกันฉบับใหม่เพิ่ม หรือต้องการอัปเกรดแผนความคุ้มครองจากกรมธรรม์เดิมที่มี สิ่งที่ต้องพิจารณาประกอบการตัดสินใจ มีดังต่อไปนี้


  1. สุขภาพของเรา ต้องประเมินว่าสุขภาพของเรามีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วย มีแนวโน้มจะเป็นโรคอะไร มากน้อยแค่ไหน โดยประเมินจากโรคประจำตัวที่มี หรือจากกรรมพันธุ์ ประวัติเจ็บป่วยของคนในครอบครัว
  2. ความต้องการ อยากให้ประกันฉบับนั้นๆ ดูแลเราในด้านใด 
  3. ความคุ้มครองที่ได้ ครอบคลุมโรคและค่าบริการอื่นๆ ตามความต้องการของเราหรือไม่
  4. ค่าเบี้ยที่ต้องจ่าย และงบที่จ่ายไหว ปกติค่าเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 20% ของรายได้ต่อปี หรือมีจำนวนที่สามารถจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง ไม่กระทบกับการวางแผนการเงินระยะยาว 

อัปเกรดกรมธรรม์เล่มเดิม 

หากเรามีประกันสุขภาพอยู่แล้ว แต่ต้องการเปลี่ยนแผนเพื่อรับความคุ้มครองที่เพิ่มขึ้น สามารถทำได้ ณ วันครบรอบปีกรมธรรม์หรือวันครบกำหนดชำระเบี้ยประกันภัย (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแบบประกัน) และควรเข้าใจเงื่อนไขว่าการเปลี่ยนแผนหรืออัปเกรดแผนให้ได้ความคุ้มครองที่สูงขึ้น อาจต้องมีการตอบคำถามสุขภาพและตรวจสุขภาพใหม่ ดังนั้น จึงมีโอกาสถูกยกเว้นความคุ้มครองโรคเพิ่ม สิ่งที่ควรคำนึงหลักๆ คือ สุขภาพของตัวเองเป็นอย่างไร หากสุขภาพดี ก็มีโอกาสปรับความคุ้มครองสุขภาพเพิ่มขึ้น แต่หากมีปัญหาสุขภาพ ก็ต้องยอมรับว่ามีโอกาสจะถูกยกเว้นความคุ้มครองโรคก่อนทำประกันเพิ่มขึ้น


เนื่องจากการซื้อประกันสุขภาพเล่มเดิมตั้งแต่อายุยังไม่มาก ความเสี่ยงของโรคยังไม่มาก โรคที่ถูกยกเว้นความคุ้มครองก่อนทำประกันก็มีไม่มาก ประกันสุขภาพฉบับนั้นครอบคลุมแทบทุกโรคแบบไม่ต้องกังวลใจใดๆ ก็ควรจะถือกรมธรรม์ฉบับนั้นต่อไป 


การซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมในกรมธรรม์ฉบับเดิม จึงช่วยป้องกันความเสี่ยงหากตรวจสุขภาพไม่ผ่านขึ้นมา กรมธรรม์ฉบับเดิมที่เราถืออยู่ก็ยังให้ความคุ้มครอง เราจึงยังได้รับผลประโยชน์และความคุ้มครองอยู่เช่นเดิม ส่วนจะซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมอย่างไร ขึ้นอยู่กับความต้องการของเรา เช่น เพิ่มความคุ้มครองโรคร้ายแรง เพิ่มความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลรายวัน (สามารถนำเงินชดเชยที่ได้ มาใช้อัปเกรดค่าห้องพัก เพื่อความสะดวกที่มากกว่า) 

ซื้อฉบับใหม่ ทิ้งฉบับเก่า 

ไม่แนะนำให้ซื้อกรมกรรม์ฉบับใหม่ และยกเลิกฉบับเดิมที่มี เพราะการนับระยะเวลาที่ไม่คุ้มครองต้องเริ่มต้นนับใหม่ หมายความว่าต้องรอไปอีก 30 วัน ถึงจะเริ่มคุ้มครองการเจ็บป่วย (ยกเว้นความคุ้มครองอุบัติเหตุ ที่ได้รับความคุ้มครองทันทีที่กรมธรรม์อนุมัติ) ส่วนความคุ้มครองโรคเรื้อรัง โรคร้ายแรง มีระยะเวลารอคอย 60 90 หรือ 120 วัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในกรมธรรม์ นอกจากนั้น อาจต้องชำระเบี้ยประกันภัยที่สูงขึ้นเนื่องจากอายุเพิ่มขึ้น และอาจจะต้องชำระเบี้ยประกันภัยเพิ่มพิเศษอันเนื่องจากสุขภาพ รวมทั้งมีโอกาสที่จะถูกยกเว้นความคุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนการทำกรมธรรม์ฉบับใหม่ หรือถูกปฏิเสธไม่รับประกันภัย

ซื้อเล่มใหม่เพิ่มอีกฉบับ

การพิจารณาซื้อประกันฉบับใหม่เพิ่ม มีข้อดีคือแบบประกันมีความคุ้มครองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมา เช่น ค่าตรวจสุขภาพประจำปี ค่าฉีดวัคซีน แต่ก็ต้องยอมรับด้วยว่าประกันเล่มใหม่ที่ซื้อเพิ่ม อาจมีค่าเบี้ยประกันภัยที่สูงขึ้น เนื่องจากอายุที่มากขึ้นของเรานั่นเอง 


หากต้องการซื้อกรมธรรม์ฉบับใหม่ที่มีความคุ้มครองเพิ่มขึ้น ในวันที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ต้องตอบคำถามสุขภาพใหม่ และเข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนทำประกันใหม่ เป็นไปได้ว่าเราอาจมีความเสี่ยงของโรคเพิ่มขึ้น มีโอกาสที่จะถูกยกเว้นความคุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนการทำประกันเพิ่มมากขึ้น หรือกระทั่งถูกบริษัทประกันปฏิเสธไม่รับประกันภัย เนื่องจากมีประวัติป่วยเป็นโรคบางโรคขึ้นมาแล้วก็เป็นไปได้


สิ่งที่ต้องคำนึงคือ หากถือกรมธรรม์หลายฉบับที่ให้ความคุ้มครองตั้งแต่บาทแรกเหมือนกันทั้งหมด อาจเป็นการจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยที่เกินความจำเป็น เพราะเวลาเคลม จะได้รับการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลตามที่เกิดขึ้นจริงอยู่แล้ว การมีกรมธรรม์หลายฉบับไม่ได้เป็นการชดใช้แบบดับเบิ้ลให้แต่อย่างใด 


ดังนั้น การถือกรมธรรม์หลายฉบับจะคุ้มค่าหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันสุขภาพฉบับแรก ว่ามีเพียงพอไหม และเป็นความคุ้มครองแบบไหน เช่น แบบแยกจ่ายตามรายการ โดยกำหนดวงเงินของแต่ละรายการ หรือ แบบเหมาจ่ายตามจริง หากเป็นแยกจ่ายตามรายการและคาดว่าไม่เพียงพอกับอัตราค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน ก็อาจต้องมีกรมธรรม์ประกันสุขภาพอีกฉบับแบบเหมาจ่ายตามจริงเพิ่มเข้ามา 


ส่วนความคุ้มครองอื่นๆ เช่น โรคร้ายแรง เจอ จ่าย จบ ก็อาจเหมาะกับคนที่ต้องการเงินก้อนมาใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ ในช่วงที่รักษาตัวอยู่ เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ซื้อเพิ่มได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงบที่เรามี และความต้องการอย่างที่กล่าวไปข้างต้น

Deductible อีกสักเล่ม เชฟค่าเบี้ยประกันภัย

ประกันสุขภาพแบบมีความรับผิดส่วนแรก (Deductible) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคนที่มีกรมกรรม์เล่มแรกอยู่แล้ว หรือคนที่มีสวัสดิการสุขภาพของพนักงาน เช่น ประกันกลุ่มจากบริษัท ประกันสังคม แต่พิจารณาแล้วว่าความคุ้มครองที่มีนั้นไม่สอดคล้องกับอัตราค่ารักษาพยาบาลในปัจจุบัน ทำให้ต้องจ่ายส่วนเกินเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล คนกลุ่มนี้จึงต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติม แบบที่ได้ประหยัดค่าเบี้ยประกันภัยไปด้วย 


เนื่องจากประกันสุขภาพแบบมี Deductible มีเงื่อนไขว่าผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบค่ารักษาหรือค่าใช้จ่ายส่วนแรกเอง และบริษัทประกันจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนเกินตามที่กำหนดในกรมธรรม์ 


เช่น ทำประกันสุขภาพที่มีความรับผิดส่วนแรก 30,000 บาท ต่อปีกรมธรรม์ หากค่ารักษา 30,000 บาท ผู้เอาประกันภัยต้องจ่ายค่ารักษาส่วนนี้เอง แต่ถ้าค่ารักษา 50,000 บาท ผู้เอาประกันภัยจ่ายส่วนแรก 30,000 บาท และบริษัทประกันจ่ายส่วนที่เหลือ 20,000 บาท ทั้งนี้ ผู้เอาประกันภัยสามารถนำค่าใช้จ่ายส่วนแรกที่จ่ายเองไปเบิกเคลมจากสวัสดิการหรือกรมธรรม์สุขภาพที่มีอยู่แล้วได้ 


ค่าเบี้ยประกันสุขภาพแบบที่มี deductible จะถูกกว่าเมื่อเทียบกับแบบที่ไม่มี deductible อีกด้วย แบบมี deductible จึงคุ้มค่ามากกว่า

ประกันสุขภาพแบบ UDR วางแผนเกษียณ

หากพูดถึง สัญญาเพิ่มเติมด้านสุขภาพ จะมีให้เลือกซื้อแนบได้ 2 แบบ

  1. แบบ PPR (Premium Paying Rider) หรือที่เรียกว่าสัญญาเพิ่มเติมแบบดั้งเดิม (Traditional Rider) ที่ให้ความคุ้มครองด้านสุขภาพทั่วไป จ่ายเบี้ยประกันภัยและให้ความคุ้มครองแบบปีต่อปี และเบี้ยประกันภัยจะปรับเพิ่มขึ้นตามความเสี่ยงและอายุ
  2. แบบ UDR (Unit Deducting Rider) สัญญาเพิ่มเติมแบบชำระค่าการประกันภัยโดยการขายคืนหน่วยลงทุนที่ออกแบบมาให้แนบกับประกันชีวิตควบการลงทุนหรือยูนิต ลิงค์ 


โดยค่าเบี้ยประกันภัยของแบบ UDR มีความพิเศษ คือมีการคำนวณรวมค่าใช้จ่ายทั้งสัญญาหลักประกันชีวิตควบการลงทุน (ยูนิต ลิงค์) และสัญญาเพิ่มเติมแบบ UDR เข้าด้วยกันซึ่งค่าเบี้ยประกันภัยหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมกรมธรรม์แล้ว เบี้ยประกันภัยส่วนที่เหลือจะถูกนำไปลงทุนในกองทุนรวม (เลือกกองทุนได้) นั่นหมายความว่าเราจะได้รับความคุ้มครองชีวิต สุขภาพ และผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวม (กรณีที่มี) ทั้งนี้ สามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมแบบ UDR คู่กับประกันชีวิตควบการลงทุน (ยูนิต ลิงค์) ณ วันทำสัญญาประกันภัย เท่านั้น 


ข้อดีของการซื้อสัญญาเพิ่มเติมแบบ URD คู่กับประกันชีวิตควบการลงทุน ยูนิต ลิงค์ 

  1. วางแผนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพระยะยาวได้ 
  2. เบี้ยประกันภัยไม่ปรับเพิ่มขึ้นตามอายุ 
  3. มีโอกาสได้ผลตอบแทนจากการลงทุน เมื่อเงินลงทุนเติบโตถึงจุดหนึ่ง สามารถนำเงินที่ได้จากการลงทุนมาจ่ายเบี้ยประกันภัยหลังเกษียณ ทำให้ได้รับความคุ้มครองหลังเกษียณโดยไม่ต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยเอง
ไม่อยากตกเทรนด์เรื่องราวดีๆ พร้อมกิจกรรมดีๆ แลกของรางวัลมากมาย จาก Healthy Living สมัครเลย
วางแผนออมเงินอย่างมีเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออมเพื่ออนาคต หรือ ออมใช้ยามเกษียณ อลิอันซ์ อยุธยา มีแผนประกันให้เลือกได้ตามความต้องการ ทั้ง ประกันออมทรัพย์ และ ประกันเพื่อชีวิตหลังเกษียณ ข้อมูลเพิ่มเติม คลิก
ขอรับข้อมูลเพิ่มเติม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ติดต่อ คุณนลินี อุดมสมบัติมีชัย

โทร. 0982329824

Copyright © 2020 executivegroup.online